วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

เตรียมเอกสารยื่น PR กันดีกว่า




Cr. Google

เพื่อนๆที่มาออสเตรเลียด้วยวีซ่าคู่สมรส เมื่อถือ TR ตามระยะเวลาที่ทางรัฐกำหนด คือประมาณ 2 ปีนับจากวันที่เรายื่นสมัครวีซ่าคู่สมรส ก็สามารถทำการยื่นเรื่องขอ PR ได้ หากเพื่อนๆไม่แน่ใจว่าเราถึงกำหนดยื่นหรือยังเพราะบางทีทางอิมก็ไม่ได้แจ้งเรา สามารถเข้าไปเช็คได้ที่ Partner Permanent Calculator จากนั้นก็เตรียมเอกสารเพื่อเตรียมยื่นขอ PR โลดดดดด

ที่เว็ปไซด์ของอิมจะมีเช็คลิสต์ให้เราเตรียมเอกสาร เราก็จัดเตรียมตามเช็คลิสต์ได้เลย Check List  เพื่อความสะดวกของเพื่อนๆ แม่หมีก็เลยเอาเช็คลิสต์ฉบับแปลภาษาไทยสไตล์แม่หมีมาไว้ให้เพื่อนๆ  

เอกสารของผู้สมัครหลัก
  • ใบ Police Check  และผู้ติดตาม (ถ้ามี) ซึ่งเพื่อนๆสามารถขอได้ตามลิ้งค์นี้ NPC Police check
  • ใบสมัครยื่น Partner Visa Application
  • ใบ Statutory declaration Statutory Declaration (Applicant)
  • สำเนา passport ถ่ายหน้าที่มีข้อมูลและรูปถ่าย รวมทั้งทุกหน้าที่มีการประทับตราเข้า-ออก พร้อมรับรองสำเนาโดย JP
  • สำเนาบัตร Medicare Card  พร้อมรับรองสำเนาโดย JP
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาโดย JP
เอกสารของสปอนเซอร์
  • ใบ  Statutory declaration Statutory Declaration (Sponsor)
  • สำเนา passport ถ่ายหน้าที่มีข้อมูลและรูปถ่าย รวมทั้งทุกหน้าที่มีการประทับตราเข้า-ออก พร้อมรับรองสำเนาโดย JP
  • สำเนาบัตร Medicare Card  พร้อมรับรองสำเนาโดย JP
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาโดย JP
เอกสารรับรองจากพยาน
  • ใบ Statutory declaration จากพยานหรือ Form 888 จำนวน 2 คน Form 888 โดยผู้ที่จะกรอกใน Form  888 ต้องเป็น Permanent Resident หรือ Australian Citizen พร้อมทั้งแนบสำเนาใบขับขี่หรือหน้าพาสปอร์ตของพยานพร้อมกับเอกสารดังกล่าว
เอกสารเพิ่มเติม
  • ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ที่มีชื่อร่วมของผู้สมัครหลักและสปอนเซอร์
  • หลักฐานสนับสนุนการเงินและค่าใช้จ่าย เช่น เอกสารเปิดบัญชีร่วมกัน, ทรัพย์สินที่มีร่วมกัน เช่น บ้าน รถ, สลิปโอนเงินค่าใช้จ่ายในบ้าน เป็นต้น
  • หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ เช่น รูปถ่ายกิจกรรมที่ทำร่วมกัน รูปถ่ายขณะท่องเที่ยว, รูปถ่ายกับญาติ เพื่อนสนิท, เอกสารท่องเที่ยวด้วยกัน เช่นตั๋วเครื่องบิน
เมื่อรวบรวมเอกสารต่างๆครบถ้วนแล้ว ก็ส่งไปตามที่อยู่
กรณีเพื่อนๆยื่น Partner Visa จากไทย subclass 309 ให้ส่งเอกสารไปที่
Partner (Permanent) Processing Centre Brisbane 
Department of Immigration and Border Protection GPO Box 9984
Brisbane QLD 4001 


กรณียื่น Partner Visa ที่ออสเตรเลีย subclass 820 ให้ส่งเอกสารไปที่
Partner (Permanent) Processing Centre Melbourne 
Department of Immigration and Border Protection GPO Box 241
Melbourne VIC 3001

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการยื่นออนไลน์ ถ้ายังไม่มี Immiaccount ต้องทำการสมัครเพื่อขอรับ Immiaccount ก่อน จากนั้นก็ดำเนินตามขั้นตอนตามเว็ปไซต์ รวมถึงการ upload file เอกสารต่างๆ ตามขั้นตอนที่หน้าเว็ปไซต์

หลังจากส่งเอกสารแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นตอนนั่งรอ นอนรอ หากทาง Immigration ต้องการข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมก็จะส่ง email เพื่อให้เราส่งเอกสารเพิ่มต่อไป ระยะเวลาในการพิจารณา PR นั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละ case มีตั้งแต่ 2  สัปดาห์ จนถึง 18 เดือน ซึ่งอันนี้แม่หมีไม่รู้ว่าเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกันยังไง  แม่หมีขอเป็นแรงมใจให้เพื่อนๆทุกคนโชคดีและได้รับการตอบกลับจาก Immigration ไวไวนะ 

YOU KNOW YOU LOVE ME.....XoXo
แวะมาพูดคุยหรือติดตามเรื่องราวรายวันสไตล์แม่หมีได้ที่ https://www.facebook.com/thekoalagang 
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์หรือกด Like เป็นกำลังใจให้แม่หมีหน่อยน้าาาาา จุ๊บ จุ๊บ

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

แม่หมีพาไปซิ่ง สอบใบขับขี่รัฐวิคตอเรีย

มาแล้วจร้า มาแล้ว รอบนี้แม่หมีจะพาไปซิ่งกัน สืบเนื่องมาจากว่าแม่หมีเพิ่งได้ใบขับขี่ออสมาสดๆร้อน คราวนี้มั่นใจกล้าซิ่งได้เต็มตัวซักที ก่อนหน้านี้แม่หมีใช้ใบขับขี่ตลอดชีพแบบ smart card จากเมืองไทย ซี่งทางรัฐวิคตอเรียที่แม่หมีอยู่อนุญาตให้ใช้ได้จนถึง 6 เดือนหลังจากได้ PR หรือวีซ่าผู้พำนักถาวร ซึ่งเงือนไขตรงนี้แต่ละรัฐของออสเตรเลียจะแตกต่างกันไปนะจ๊ะ เพื่อนๆต้องหาข้อมูลหรือโทรสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวกับการขนส่งของรัฐตัวเองอีกที ของแม่หมีอยู่เมลเบิรน์ก็ต้องติดต่อที่ VIC Roads ซึ่งมีอยู่หลายที่ด้วยกัน แม่หมีเลือกเอาที่ใกล้ๆบ้านนี่แหละ ถ้าใครอยู่รัฐวิคตอเรียคลิ๊กที่ลิงค์ที่แม่หมีแนบไว้ให้ได้เลยนะจ๊ะ

เครดิตภาพจาก Google


ขั้นตอนอันได้มาซึ่งใบขับขี่ที่ออสนั้นก็มีอยู่ 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ
1. Road Law Knowledge Test เป็นการสอบกฏระเบียบจราจร เครื่องหมายจราจรต่างๆที่เกี่ยวข้องในการขับรถ ว่าง่ายๆก็คือภาคทฤษฏีนั่นเอง
2. Hazard Perception Test เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจเสมือนเราขับรถจริงๆ ทดสอบการตัดสินใจในสถานการณ์จำลองต่างๆ สอบโดยใช้คอมพิวเตอร์  เป็นการสอบภาคปฏิบัติผ่านทางคอมพิวเตอร์
3. Drive Test อันนี้เป็นการทดสอบขับจริงๆ โดยมีผู้ประเมินนั่งไปกับเราด้วย ตื่นเต้นสุดๆยิ่งกว่า mission impossible

ขั้นตอนแรกแม่หมีไปติดต่อที่ VIC Roads เขตใกล้บ้านเพื่อจองวันสอบข้อเขียน เอกสารที่นำไปในวันจองวันสอบได้แก่ หนังสือเดินทาง (passport), Medicare Card แล้วก็เอกสารที่แสดงที่อยู่ของเรา เช่น จดหมายจาก Medicare, บิลค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น แม่หมีไปถึงก็แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะมาจองวันสอบ เจ้าหน้าที่จะให้แบบฟอร์มเรามากรอกรายละเอียด พร้อมบัตรคิว พอถึงคิวเราก็ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์ แม่หมีแสดงใบขับขี่ตลอดชีพของไทย เจ้าหน้าที่อธิบายว่ากรณีของแม่หมีที่มีใบขับขี่ตลอดชีพของไทยมาแล้ว หากสอบขับผ่านก็สามารถได้ Full License ได้เลย เมื่อจองวันสอบข้อเขียนเสร็จก็ชำระค่าธรรมเนียม 40.90 AUD เจ้าหน้าที่ก็จะให้เอกสารที่เรากรอกกลับมา พร้อม Customer ID ซึ่งเราจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาในวันสอบอีกที ระหว่างรอวันสอบ แม่หมีก็ฝึกทำแบบฝึกหัดจากเว็ปไซด์ของทาง VIC Road ตาม link https://www.vicroads.vic.gov.au/licences/your-ls/get-your-ls/lpt: ส่วนใหญ่ข้อสอบก็จะคล้ายตามลิ้งค์ที่แม่หมีให้ไว้ มีเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย

ถึงวันสอบข้อเขียนก็นำเอกสารไปติดต่อเจ้าหน้าที่ จากนั้นก็ทำข้อสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีอยู่ 32 ข้อ เกณฑ์ที่ผ่านคือ 78 % นั่นก็คือเราทำผิดได้ไม่เกิน 7 ข้อเท่านั้น เมื่อทำข้อสอบเสร็จเจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งผลการสอบให้พร้อมเอกสารยืนยันว่าผ่านการสอบ เจ้าหน้าที่จะสอบถามว่าเราต้องการ Learner Driving License มั้ย ซึ่งถ้าเราเลือกทำ Learner Driving License ใบขับขี่จากไทยจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ไม่สามารถใช้ขับที่ออสได้ อีกอย่างการถือ "L" หรือ Learner Driving License ไม่สามารถขับรถตามลำพังได้ ต้องมีผู้ฝึกสอน หรือ ผู้ที่ได้ Full License นั่งไปด้วยทุกครั้ง แม่หมีก็เลยเลือกไม่ทำ Learner Driving License  เสร็จจากขั้นตอนนี้ ขั้นตอนต่อไปก็คือการจองวันสอบ Hazard Test ซึ่งสามารถจองวันสอบได้เลยหลังสอบข้อเขียนผ่าน พร้อมชำระค่าธรรมเนียม 36.30 AUD เจ้าหน้าที่ก็จะออกเอกสารการจองวันสอบให้เหมือนเดิม ซึ่งเราจะต้องนำมาในวันที่สอบ Hazard Test

เครดิตภาพจาก Google


มาต่อกันที่ขั้นตอนการสอบ Hazard  Test  เมื่อถึงวันที่เราจองไว้ ก็นำเอกสารไปติดต่อตรงช่อง computer test เหมือนเดิม เจ้าหน้าที่ก็จะให้เราทำข้อสอบซึ่งมีทั้งหมด 28 ข้อจะต้องได้อย่างน้อย 54% ถึงจะถือว่าผ่าน ก่อนเริ่มทดสอบเราสามารถที่จะเลือกฝึกทำข้อสอบก่อนได้ ซึ่งจะมีข้อสอบให้เราฝึกหัด 4 ข้อ วิธีการสอบ Hazard Test ก็คือเราจะต้องคลิ๊กเม้าส์ เพื่อเลือกจังหวะการหยุด,ชะลอ,เลี้ยว หรือเคลื่อนตัวออกของรถในสถานการณ์จำลอง แม่หมีแนบลิ้งก์ตัวอย่าง Hazard Test ไว้ให้ตรงนี้ Hazard Test เผื่อเพื่อนๆใช้ฝึกหัดก่อนไปสอบจริง ลิ้งก์ที่แม่หมีแนบไว้ให้เป็นของรัฐ New South Wale  แต่ก็ไม่แตกต่างจากของรัฐ Victoria เท่าไหร่ เมื่อสอบผ่านแล้วขั้นตอนต่อไปก็เป็นการสอบขับในถนนจริง

เมื่อสอบทั้ง 2 ด่านขั้นต้นผ่านแล้ว ทีนี้เพื่อนๆก็สามารถทำการจองวันสอบขับได้ โดยเลือกวันและเวลาที่เราสะดวกในการสอบ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม 62 AUD สำหรับคนที่ใช้ oversea license หรือใบขับขี่จากไทยและมีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี หลังจากสอบขับผ่านก็จะได้  Full license









แม่หมีแนะนำให้เพื่อนๆ ลองไปหัดขับในพื้นที่ที่จะสอบให้ชำนาญ สำหรับคนที่ลงเรียนขับรถส่วนใหญ่ ครูผู้สอนจะพาไปลองขับซัก 1-2 ครั้งอยู่แล้ว โดยส่วนตัวแล้วถึงแม้จะมีประสบการณ์การขับรถที่ไทยมาแล้ว แม่หมีแนะนำให้ลงเรียนซัก 1 ชั่วโมงก่อนสอบจริง เพราะว่าครูผู้สอนจะแนะนำกฎและเทคนิคให้เรา ทำให้มั่นใจมากขึ้น 

สำหรับแม่หมีเองมีเทคนิคที่มาบอกต่อ เผื่อเป็นประโยชน์ในการสอบขับ
  1. ก่อนให้สัญญาณในการเลี้ยวทุกครั้ง จะต้องเริ่มที่มองกระจกหลัง กระจกข้างที่จะเลี้ยว แล้วถึงให้สัญญาน เช่น ถ้าเพื่อนๆจะเลี้ยวซ้าย ก็จะต้องมองกระจกหลัง มองกระจกซ้าย แล้วถึงให้สัญญานเลี้ยวซ้าย
  2. หากต้องการเบรกหรือชะลอความเร็วจะต้องมองกระจกหลังทุกครั้ง
  3. หากขณะเลี้ยวหรือให้สัญญาน แล้วสัญญานหยุดหรือดับจะต้องให้สัญญาณอีกครั้ง ไม่เช่นนั้นจะถือว่า "ไม่ได้ทำการให้สัญญาณ"
  4. หากต้องการเลี้ยวจากถนนหลักไปยังถนนย่อยหรือทางเชื่อมต่ออีกด้านหนึ่ง ต้องเลี้ยวทันทีที่เห็นว่าปลอดภัย ห้ามหยุดหรือชะลอนาน แต่ในขณะเดียวกัน เพื่อนๆจะต้องหยุดสังเกตการณ์ก่อนเลี้ยวนะ ไม่งั้นถือว่าผิด
  5. ในการขับจะต้องระมัดระวังเรื่องขีดจำกัดความเร็วในแต่ละโซน ห้ามเกินเป็นอันขาด แล้วก็ห้ามขับต่ำกว่า 10 km/hr จากความเร็วที่กำหนด เช่น ป้ายกำกับความเร็ว 60 หมายถึงห้ามขับเกิน 60 km/hr. แต่ห้ามขับต่ำกว่า 50 km./hr
  6. หากเห็นป้าย "STOP" ที่บริเวณทางแยก จะต้องหยุดรถนิ่งสนิท แล้วสังเกตรถที่ผ่านทั้งด้านซ้ายขวา ก่อนที่จะเลี้ยว หากรถขยับเพียงนิดเดียวถือว่าตก
  7. ผู้ขับจะต้องทำ "headcheck" ทุกครั้ง ในการเปลี่ยนเลน หรือ เลี้ยวรถ การทำ headcheck คือการหันศีรษะไปด้านข้างในเสี้ยววินาทีเพื่อดูว่ามีรถในจุดบอด หรือ blind spot หรือไม่
  8. ในการสอบขับ ผู้ขับจะถูกให้ทำ three-point turn คือการกลับรถในถนน 2 เลน หรือไม่ก็ให้ทำ parallel parking คือการจอดรถขนานกับทางเท้า 
  9. เวลาขับคอยหมั่นเช็คกระจกหลัง กระจกข้างตลอดเวลา ประมาณว่าเราระมัดระวัง
  10. ส่วนการขับวงเวียน ซึ่งที่ออสเตรเลียมีวงเวียนมากกว่าบ้านเรามากนัก ต้องให้รถทางขวามือของเราผ่านไปก่อน และจะต้องสังเกตรถอื่นๆ ในวงเวียนด้วย หลังจากขับออกจากวงเวียนให้พยายามมองกระจกหลัง กระจกข้างทุกครั้ง
เวลาในการสอบขับอยู่ที่ประมาณ 50 นาที เจ้าหน้าที่จะบอกผลการสอบหลังกลับมายัง  Vic Roads กรณีมีใบขับขีแบบ Smart card จากไทย หากผู้ขับมีอายุเกิน 21  ปีและมีใบขับขี่แบบ 5  ปีจากไทย เมื่อสอบผ่านก็จะได้ Full license ทันที

สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีใบขับขี่ มาเริ่มต้นใหม่ที่ออส หากผู้ขับอายุต่ำกว่า 21 ปี จะต้องถือ P แดง  หรือ P1 เป็นเวลา 1 ปีจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น Pเขียว หรือ P2 อีก 3  ปี ก่อนจะได้ Full License แต่ถ้าผู้ขับอายุเกิน 21 ปีแล้วก็สามารถถือ P เขียว 3 ปี แล้วเปลี่ยนเป็น Full License ได้เลย

เมื่อเจ้าหน้าที่แจ้งผลสอบผ่านแล้วก็ทำการถ่ายรูปเพื่อทำใบขับขี่ต่อไป โดยใบขับขี่มีแบบ 3 ปี  ค่าธรรมเนียม 79.50 AUD และแบบ 10 ปี ค่าธรรมเนียม 272.30 AUD โดยใบขับขี่จะถูกจัดส่งมายังที่อยู่ตามที่เราแจ้งไว้หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ขอให้เพื่อนๆทุกคนโชคดีในการสอบใบขับขี่นะจ๊ะ มีข้อมูลอะไรใหม่ๆมาอัพเดทแลกเปลี่ยนกันได้ที่คอมเม้นท์ หรือ ที่ Facebook Page ของแม่หมีน้าาาาาาา

YOU KNOW YOU LOVE ME.....XoXo
แวะมาพูดคุยหรือติดตามเรื่องราวรายวันสไตล์แม่หมีได้ที่ https://www.facebook.com/thekoalagang 
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์หรือกด Like เป็นกำลังใจให้แม่หมีหน่อยน้าาาาา จุ๊บ จุ๊บ


วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Aussie Slang Part 2 : All about animals

กลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้องกับ Aussie Slang หลังจาก part แรกแม่หมีเขียนเกี่ยวกับอาหาร มาคราวนี้แม่หมีขอนำเสนอคำแสลงที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ใช้ในและพบบ่อยในชีวิตประจำวัน อย่ารอช้าเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

เครดิตภาพจาก Google
เริ่มที่คำแรกกับคำว่า Chook (ชุค) หมายถึง Chicken ไก่






เครดิตภาพจาก Google
Blowie (โบลววี่) อันนี้หมายถึง Fly หรือแมลงวัน ส่วนใหญ่หมายถึงแมลงวันหัวเขียว ตาโปนๆตัวใหญ่ๆ



เครดิตภาพจาก Google


Joey (โจอี้) ใช้เรียก Baby Kangaroo หรือลูกจิ้งโจ้ ส่วน Roo (รู)  ใช้เรียก Kangaroo หรือจิงโจ้ตัวใหญ่ๆ


เครดิตภาพจาก Google


มาต่อกันที่แมลงที่คอยกัดดูดเลือดเรากันบ่อยๆ Mozzie (มอสซี่) หรือ คำเต็มๆคือ Mosquito หรือยุงนั่นเอง





บางทีแม่หมีก็รู้สึกว่าคำอะไร อะไรที่นี่ก็ย่อกันไปซะหมด สงสัยชาวออสซี่จะขี้เกียจพูดอะไรยาวๆ กัน อิอิอิ เพื่อนๆที่มาถึงออสใหม่ๆ อาจจะรู้สึกแปลกๆ แต่อยู่ไปซักพักแม่หมีเชื่อว่า เดี๋ยวเพื่อนๆก็ชิน หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะจ๊ะ แล้วพบกันใหม่กับบทความดีดีในครั้งหน้านะทุกๆคน

YOU KNOW YOU LOVE ME.....XoXo
แวะมาพูดคุยหรือติดตามเรื่องราวรายวันสไตล์แม่หมีได้ที่ https://www.facebook.com/thekoalagang 
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์หรือกด Like เป็นกำลังใจให้แม่หมีหน่อยน้าาาาา จุ๊บ จุ๊บ

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Aussie Slang Part 1 : All about Food


เครดิตภาพจาก Google

G'Day Mate วันนี้แม่หมีขอทักทายสไตล์ออสซี่ หากจะเข้าถึงวัฒนธรรมของชาวออสซี่แล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเรียนรู้คำแสลงตามแบบฉบับของขาวออสซี่ ที่ออสเตรเลียถึงแม้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารก็ตาม แต่หากใครได้ฟังสำเนียงภาษาอังกฤษแบบออสซี่แล้วล่ะก้อ เล่นเอาทึ่งกันไปทุกรายโดยเฉพาะแม่หมี ตอนแรกๆมาถึงออสใหม่ๆ ก็ถึงกับงงและอึ้งไปกับสำเนียงและคำแปลกๆมากมาย  หากพูดถึงภาษาอังกฤษแบบออสซี่แล้ว แม่หมีเชื่อว่าสิ่งที่ชาวโลกจะต้องกล่าวถึงก็คือคำแสลง (Slang Word) เพราะนอกจากจะมีมากมายนับไม่ถ้วนแล้ว ยังมีคำแสลงใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน เรียนรู้กันไม่จบไม่สิ้น

เครดิตภาพจาก Google

มาถึงตอนนี้แม่หมีอยากจะบอกว่าเพื่อนๆที่ย้ายมาออสใหม่ๆ อย่าพึ่งท้อ หัดฟังหัดพูดไปเรื่อยๆก็จะชินกับสำเนียงออสซี่ไปเอง วันนี้แม่หมีเลยชวนเพื่อนมาเรียนรู้ศัพท์สแลงสไตล์ชาวออสซี่ที่พบบ่อยๆในชีวิตประจำวัน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ในการพูดคุยกับชาวออสซี่กันน้าาาาา

สำหรับ Aussie Slang Part 1 แม่หมีขอเริ่มกันที่หมวดอาหาร งานถนัดของแม่หมีล่ะกันนะ อิอิ

  • คำว่า Food หรืออาหาร นั้นบางครั้งชาวออสซี่จะใ่ช้คำว่า Tucker (ทัก-เกอร์)
  • เริ่มที่มื้ออาหารกันก่อนเลย Brekkie (เบรค-กี้) ตอนแรกที่แม่หมีได้ยินนึกว่าหมายถึงเบรค หรือช่วงพัก แต่จริงๆมาจากคำว่า Breakfast หรืออาหารเช้านั่นเอง ส่วนอาหารค่ำหรือ Dinner ที่นี่เรียก Dinnies (ดิน-นี่)
  • อาหารกลางวันของพ่อหมีส่วนใหญ่จะเป็น Sanga กับ Snag หรือไม่ก้อ Veggie salad , Snag (สะ-แนก)  หมายถึง Sausage หรือ ไส้กรอก, Sanga (แซง-งา) คือ Sandwich  ส่วน Veggie (เวจ-จี้)  มาจากคำว่า Vegetable หมายถึงผักนั่นเอง
  • แม่หมีชอบแอบกิน Bikkie (บิค-กี้) กับ Chokkie (โชค-กี้) ตอนดึกๆอยู่บ่อยๆ อิอิ Bikkie & Chokkie หมายถึง Biscuit & Chocolate
  • หากเพื่อนๆต้องการดื่มชา เพื่อนๆสามารถใช้คำว่า Cuppa (คัป-ป้า) แทน A cup of tea
  • สำหรับหนุ่มๆอาจจะชอบดื่ม Grog (กร็อก) มากกว่า Grog หมายถึงเบียร์สำหรับชาวออสซี่
  • ชาวออสซี่ส่วนใหญ่ชอบ Barbie (บาร์-บี้)  กันในช่วงฤดูร้อน แม่หมีไม่ได้หมายถึงเล่นตุ๊กตาบาร์บี้น้าาาา Barbie ของชาวออสซี่ หมายถึง Barbecue
ศัพท์สแลงข้างบนเป็นคำที่พบได้ค่อนข้างบ่อยได้ชีวิตประจำวัน เพื่อนๆอาจจะเคยได้ยินหรือคุ้นเคยกันมาบ้าง ซึ่งว่ากันจริงๆแล้ว เราสามารถเดาได้จากรากศัพท์ เพราะคำศัพท์สแลงเหล่านี้เหมือนย่อจากรากศัพท์เดิมที่ค่อนข้างยาวให้เหลือสั้นและกระชับลง แม่หมีได้สรุปคำสแลงเกี่ยวกับอาหารข้างบนไว้ให้เพื่อนๆเพื่อให้ดูได้ง่ายขึ้น แล้วพบกันใหม่กับ Aussie Slang Part 2 นะจ๊ะ

Aussie Slang : Food
    1. Tucker      = Food 
    2. Brekkie    = Breakfast 
    3. Dinnies    = Dinner 
    4. Snag        = Sausage                                            
    5. Sanga      = Sandwich 
    6. Veggie     = Vegetable 
    7. Bikkie     = Biscuit 
    8. Chokkie  = Chocolate 
    9. Cuppa     = A cup of tea 
    10. Grog       = Beer, Liquor
    11. Barbie    = Barbecue

YOU KNOW YOU LOVE ME.....XoXo
แวะมาพูดคุยหรือติดตามเรื่องราวรายวันสไตล์แม่หมีได้ที่ https://www.facebook.com/thekoalagang 
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์หรือกด Like เป็นกำลังใจให้แม่หมีหน่อยน้าาาาา จุ๊บ จุ๊บ

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

510 hours AMEP ของฟรีก็มีในโลก

สวัสดีปีใหม่เพื่อนๆ นะคะ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ยังติดตามบล็อกของแม่หมีนะคร้าาา  แม่หมีหายหน้าหายตาไปอีกแล้ว ที่ผ่านมาแม่หมีมัวแต่วุ่นวายกับงานบ้านงานเรือน งานราษฏร์งานหลวง แหะ แหะ แม่หมีสัญญาว่าปีนี้จะพยายามหาเรื่อง....อิอิ แม่หมีหมายถึงหาเรื่องมาเขียบบล็อกให้เพื่อนๆได้อ่านกันนะคะ
สืบเนื่องจากคราวที่แล้ว ตอนที่แม่หมีเขียนเรื่องมาถึงออสแล้วทำไงดี แม่หมีติดค้างเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษฟรีเอาไว้ ก็เลยจะขอมานำเสนอในบทความนี้แทนนะจ๊ะ จุ๊บ จุ๊บ

เครดิตภาพจาก google

หากเพื่อนๆได้รับวีซ่าคู่สมรสแล้วไม่ว่าจะเป็น subclass 309 (ยื่นจากไทย) หรือ subclass 820 (ยื่นที่ออสเตรเลีย) เพื่อนๆจะได้รับสิทธิในการเรียนภาษาอังกฤษฟรีจำนวน 510  ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า AMEP (Adult Migration English Program ) เพื่อนๆไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นะจ๊ะ 

แล้วจะไปสมัครเรียนได้ยังไง  ?
ก่อนอื่นเพื่อนๆที่ต้องการเรียนจะต้องดำเนินการลงทะเบียนกับสถาบันที่เปิดสอนคอร์สดังกล่าว ซึ่งได้แก่ AMES หรือ TAFE ก่อน โดยเพื่อนๆสามารถหาสถานที่เรียนใกล้บ้านได้จาก https://www.ames.net.au หรือค้นหาจาก google เช่น แม่หมีอยู่ที่เมลเบิรน์ แม่หมีก็หาจาก google เอาว่า TAFE หรือ AMES in Melbourne 

ไปลงทะเบียนเรียนกันเถอะ 
เมื่อเลือกสถานที่เรียนที่เพื่อนสะดวกและถูกใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการลงทะเบียนเรียน วิธีการลงทะเบียนไม่ยากเลยจร้า เพียงเพื่อนๆเดินทางไปยังสถานที่เรียน พร้อมเอกสาร ได้แก่ เอกสารวีซ่าที่ได้รับจากสถานฑูต และ พาสปอร์ต จากนั้นก็สองมือล้วงกระเป๋า สองเท้าก้าวเข้าไปแจ้งความจำนงว่าต้องการลงทะเบียนเรียน คอรส์ AMEP ทางเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการลงทะเบียนให้ อันนี้สำคัญมากนะจ๊ะเพื่อนๆ เพราะการลงทะเบียนเรียนจะต้องดำเนินการภายใน 6 เดือนหลังจากได้วีซ่าและจะต้องเรียนภายในกำหนด 5 ปีนะจ๊ะ ไม่งั้นถือว่าหมดสิทธิ์ ถ้าเพื่อนๆยังไม่สะดวกเริ่มเรียนให้ลงทะเบียนเรียนไว้ก่อน พร้อมเมือไหร่ค่อยไปแจ้งเริ่มเรียนอีกครั้งหนึ่ง อย่างน้อยรักษาสิทธิ์ของเราไว้ก่อนเนอะ

ทดสอบระดับภาษา
เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนการทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ก็จะมีคุณครูมาทดสอบภาษาอังกฤษของเราทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน ก็จะมีการถามคำถามเรา ให้อ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแล้วตอบคำถาม แล้วก็เขียนประโยคเล็กๆน้อยๆเพื่อวัดระดับทางภาษา เพื่อนๆไม่ต้องตื่นเต้นน้าาาาา พยายามให้เต็มที่เพื่อที่คุณครูจะได้ประเมินได้ว่าเราอยู่ระดับไหน โดยการวัดระดับจะมีตั้งแต่ระดับ  0-2 สูงสุดคือระดับ 2 หากเพื่อนๆทดสอบได้ระดับ 2 ทุก  part ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนคอร์ส AMEP เจ้าหน้าที่อาจจะแนะนำคอร์สอื่นที่เหมาะสมให้เพื่อนๆต่อไป 
เมื่อทดสอบภาษาแล้ว ก็จะมีการคุยกับเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องคอร์สที่จะเรียน การเตรียมตัว และรายละเอียดคอร์สคร่าวๆ อ้อ....เจ้าหน้าที่จะให้เราทำบัตรนักเรียน แล้วทางโรงเรียนก็จะส่งตารางเรียนให้กับเราทางจดหมายอีกที

ทีนี้เพื่อนๆก็แค่นั่งรอ นอนรอตารางเรียนที่บ้านได้เลย เมื่อได้ตารางเรียน ก็ให้ถือเอกสารดังกล่าวไปในวันเปิดเรียนวันแรก เพราะคุณครูประจำชั้นจะขอดูอีกทีนึง (อิอิ รู้สึกดี๊ดีได้กลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง)

เครดิตภาพจาก Google

คอร์สภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 3 Level (1-3) ในแต่ละ Level เมื่อเพื่อนๆสอบผ่านแล้วทางสถาบันจะมีจดหมายรับรองให้เรียกว่า Certificate in Spoken and Writing English ซึ่งแต่ละ Level เพื่อนๆต้องสอบผ่าน 9 modules  ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่เพื่อนๆแล้วละน้าาาาา   นอกจากนี้ที่ AMES  ยังมีคอร์สอื่นๆ ที่เรียกว่า SLPET program (Settlement Language Pathways to Employment and Training) ได้แก่ Professional course, Introduction to Community service, Introduction to Retail job  หรือ skill  course ให้เพื่อนๆได้เรียนเพิ่มเติม พร้อมกับ workshop เพื่อเตรียมความพร้อมในการหางาน หรือ สมัครงานอีกด้วย

แม่หมีหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆที่กำลังจะเรียน AMEP  แม่หมีสนับสนุนให้เพื่อนๆไปลงเรียนกันนะจ๊ะ ไหนๆก็ได้เรียนฟรีแล้ว นอกจากจะได้ภาษาเพิ่มเติมยังได้พบกับเพื่อนใหม่ คุณครู และเจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษาทั้งเรื่องเรียนและเรื่องทำงานให้เราได้อีกด้วย

*** Update ข้อมูลกันหน่อยนะจ๊ะเพื่อนๆ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2017 ทางรัฐบาลออสเตรเลียไม่ได้ต่อสัญญาสำหรับคอร์ส AMEP กับทาง AMES แล้ว เพราะฉะนั้นเพื่อนๆที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษ 510 ชั่วโมงจะต้องติดต่อกับทาง TAFE ใกล้บ้าน ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากทางอินเทอร์เน็ตนะจ๊ะ ***

YOU KNOW YOU LOVE ME.....XoXo
แวะมาพูดคุยหรือติดตามเรื่องราวรายวันสไตล์แม่หมีได้ที่ https://www.facebook.com/thekoalagang 
ฝากเพื่อนๆช่วยกันแชร์หรือกด Like เป็นกำลังใจให้แม่หมีหน่อยน้าาาาา จุ๊บ จุ๊บ